Archive for มกราคม 2012

การเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูง

การเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูง

         ในการเพาะพันธุ์ปลาหางนก ยูงเพื่อการค้านั้น ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จหรือไม่ นอกเหนือจากวิธีการเพาะพันธุ์ปลาแล้ว วิธีการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์และการอนุบาลลูกปลาก็นับว่าเป็นปัจจัยที่ล้วนแต่มี ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ซึ่งจะได้กล่าวถึงปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวต่อไปนี้

การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาหางนกยูง
         เนื่องจากปลาหางนกยูงจะ เจริญถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่อปลามีอายุเพียง 3 เดือนเท่านั้น ดังนั้นเมื่อลูกปลาโตพอที่จะแยกเพศได้ (อายุประมาณ 1-2 เดือน) ควรเลี้ยงแยกเพศไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาผสมพันธุ์กันเอง ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้ลูกปลาที่ได้จากการผสมพันธุ์กันเอง มีคุณภาพทางด้านลวดลายและรูปร่างไม่ตรงตามที่เราต้องการ

         การเลี้ยงปลาหางนกยูง เพื่อเป็นพ่อแม่พันธุ์ควรเลี้ยง
อ่านเพิ่มเติม »

การเพาะขยายพันธุ์พรรณไม้น้ำ

การเพาะขยายพันธุ์พรรณไม้น้ำ

พรรณไม้น้ำหรือพืชน้ำ(Aquatic Plants) หมายถึงพืชที่ขึ้นอยู่ในน้ำโดยอาจจะจมอยู่ใต้น้ำทั้งหมด หรือ โผล่บางส่วนขึ้นมาอยู่เหนือน้ำ หรือเป็นพืชที่ขึ้นอยู่ตามริมน้ำ ชายตลิ่ง นอกจากนี้ก็ยังรวมถึงพืชที่เจริญเติบโตอยู่ในบริเวณที่ลุ่มน้ำขังหรือที่ขึ้นแฉะอีกด้วย


            การจัดตู้ปลาปัจจุบันมักจะมีการตกแต่งด้วยพรรณไม้น้ำควบคู่กันไปกับการเลี้ยงปลา จึงจะจัดว่าเป็นตู้ที่ทันสมัยและมีความเป็นธรรมชาติมากที่สุด เนื่องจากในสภาพแวดล้อมธรรมชาตินั้น พรรณไม้น้ำและปลาจะอาศัยอยู่ร่วมกัน การปลูกประดับพรรณไม้น้ำในตู้ปลานอกจากจะเพิ่มมีความสวยงาม ความมีชีวิตชีวาให้กับตู้ปลาแล้ว พรรณไม้น้ำและปลายังเอื้อประโยชน์ให้กันและกัน โดยพรรณไม้น้ำจะช่วยกำจัดของเสียที่ขับถ่ายออกจากตัวปลา ใช้เป็นปุ๋ยสำหรับการเจริญเติบโต และนำแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งปลาไม่ต้องการ ผลจากการสังเคราะห์แสงของพรรณไม้น้ำในตู้ปลาจะได้ก๊าซอ๊อกซิเจนซึ่งปลานำไปใช้ในการหายใจได้ต่อไป จากจุดเริ่มต้นที่ใช้พรรณไม้น้ำประดับตู้ปลาให้มีความสวยงามเพิ่มขึ้น พัฒนาไปจนกระทั่งเป็นงานศิลปะการจัดสวนใต้น้ำ ซึ่งจัดเป็น
อ่านเพิ่มเติม »

กฎหมายเกี่ยวกับปลาตะพัด หรืออะโรวาน่า

กฎหมายเกี่ยวกับปลาตะพัด หรืออะโรวาน่า

โดย คุณประพันธ์ ลีปายะคุณ
หัวหน้าด่านตรวจสัตว์น้ำ ท่าอากาศยานกรุงเทพ

    
ฉบับที่แล้วผมได้กล่าวถึง ปลาที่มีถิ่นกำเนิดในต่างประเทศ จำนวน 13 ชนิด ที่ถูกขึ้นบัญชีตามอนุสัญญาไซเตส โดยถูกควบคุมในเรื่องการค้าระหว่างประเทศ บางชนิดสามารถนำมาค้าได้แต่ต้องทำตามเงื่อนไข บางชนิดนำมาค้าไม่ได้เลย โดยมีกฎหมายสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 เป็นเครื่องมือในการควบคุมบังคับใช้ ไปแล้ว
    
สำหรับฉบับนี้ ผมจะได้แนะนำให้ท่านผู้อ่านได้รู้จักปลาที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ ซึ่งตามภาษากฎหมาย เรียกปลาประเภทนี้ว่า สัตว์ป่าคุ้มครอง โดยมีด้วยกัน จำนวน 4 ชนิด ดังนี้
1.
ปลาตะพัด หรืออะโรวาน่า ( Scleropages formosus )
2.
ปลาเสือตอลายใหญ่ (Datnioides microlepis )
3.
ปลาหมูอารีย์ ( Botia sidthimunki )
4.
ปลาติดหินหรือปลาค้างคาว ( Oreoglanis siamensis )
    
ผมจะกล่าวถึงรายละเอียดถึงปลาทั้ง 4 ชนิดดังกล่าว ทั้งในด้านการสงวนคุ้มครองและ
อ่านเพิ่มเติม »

การเพาะพันธุ์ปลาตู้ (ปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่น,ปลาออสการ์,ปลาสอดแดง,ปลานีออน,ปลาพาราไดซ์)

การเพาะพันธุ์ปลาตู้        ปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่น จัดเป็นปลาที่มีลักษณะสวยงามไปแทบทุกส่วน เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันมาก เทคนิคการผสมพันธุ์ปลาทองสิงห์ญี่ปุ่น มีวิธีการคล้ายกับการผสมพันธุ์ปลาสวยงามชนิดต่างๆ แต่เคล็ดลับการผสมพันธุ์ของนักเพาะเลี้ยงด้วยกันย่อมมีวิธีแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ จากประสบการณ์ที่ได้รับมาก เป็นเครื่องหมายชี้แนวทางที่นำไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งจะต้องมีการเตรียมการดังนี้
           1. การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการเพาะพันธุ์
             
บ่อเพาะพันธุ์ ควรมีขนาดยาวไม่ต่ำกว่า 10 ฟุต กว้าง 5 ฟุต หรือมีความจุน้ำประมาณ 1,500-1,600 ลิตร ควรมีอย่างน้อย 3 บ่อ คือ บ่อวางไข่ บ่ออนุบาลลูกปลา และบ่อเลี้ยง ลักษณะบ่อแต่ละบ่อต้องลาดเทเล็กน้อยทั้งปากบ่อและก้นบ่อ และควรมีความลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร
             
อ่างเพาะ การเพาะพันธุ์ปลาหัวสิงห์ นิยมเพาะในอ่างที่มีความกว้างยาวและลึก 90x90x20 เซนติเมตร
             
น้ำ ควรเป็นน้ำสะอาดสำหรับใช้ในการเพาะ น้ำประปาจัดว่าเป็นน้ำที่เหมาะสมและสะอาดที่สุดต่อการเพาะพันธุ์หัวสิงห์ญี่ปุ่น แต่ควรปล่อยน้ำทิ้งไว้ก่อน 1-2 วันเพื่อให้คลอรีนระเหยออกไปก่อน
            
พันธุ์ไม้น้ำ เตรียมไว้เพื่อให้ปลาใช้อาศัยเป็นที่วางไข่หรือจะใช้เชือกฟางแทนก็ได้ แต่ต้องเป็นเชือกฟางสีขาวมัดเป็นกลุ่มๆ และฉีกเป็นฝอยๆ
            
ฮีทเตอร์ เทอร์โมมิเตอร์ หลอดแสงแดดเทียม แอร์ปั๊ม อุปกรณ์เหล่านี้
อ่านเพิ่มเติม »

การดูแลรักษาตู้ปลา

การดูแลรักษาตู้ปลา

การดูแลรักษาตู้ปลา

     
การเลี้ยงปลาตู้ เพื่อให้คงความสวยงามอยู่ตลอดไปนั้น ควรจะต้องเอาใจใส่ดูแลรักษาอุปกรณ์พันธุ์ไม้น้ำและส่วนประกอบอื่น ๆ ที่มีอยู่ภายในตู้ปลาเพื่อมิให้เกิดความสกปรก หลักสำคัญในการดูแลรักษาที่ถูกต้อง มีดังนี้
     
ควรหมั่นตรวจเช็คดูรอยรั่วซึม บริเวณรอยต่อกระจกไม่ว่าจะเป็นตู้ปลาแบบเก่า หรือแบบใหม่ เพราะมักพบว่ามีรอยรั่วซึมของน้ำอยู่เสมอ สาเหตุเกิดจากชันหรือกาวซิลิโคนเสื่อมคุณภาพ หรือบริเวณที่ติดตั้งตู้ปลาได้รับแสงแดดและความร้อนจัด หรือเกิดจากการกระทบกระแทกกับวัตถุอื่น ๆ จึงควรระมัดระวัง แต่ถ้าตู้ปลาเกิดการรั่วซึมต้องปล่อยน้ำทิ้งให้หมด เช็ดทำความสะอาดแล้วผึ่งลมให้แห้งสนิท จากนั้นก็นำมาซ่อมแซมโดยการใช้ชัน หรือกาวซิลิโคนทารอยรั่วให้เรียบร้อย ปล่อยทิ้งไว้นานพอประมาณ จนมั่นใจว่าติดสนิทดีแล้วจึงใส่น้ำลงตู้ปลา สังเกตรอยรั่วซึมของน้ำอีกครั้ง ถ้าไม่มีรอยรั่วซึมแล้วจึงเริ่มจัดตู้ปลาพร้อมปล่อยปลาลงได้

การดูแลรักษาเครื่องกรองน้ำ
     
เมื่อใช้เครื่องกรองน้ำไปได้ระยะหนึ่ง
อ่านเพิ่มเติม »

โรคปลาตู้ วิธีการป้องกันรักษาและแหล่งจำหน่ายปลาตู้

โรคปลาตู้วิธีการป้องกันรักษาและแหล่งจำหน่ายปลาตู้

โรคปลาตู้และวิธีการป้องกันรักษา

      
โรคปลาตู้เกิดขึ้นได้ด้วยสาเหตุหลายประกาน เช่น เกิดจากเชื้อโรค พวกปรสิต บัคเตรีและเชื้อรา สภาพแวดล้อมในตู้ปลาที่ไม่เหมาะสม เช่น มีออกซิเจนในน้ำน้อยไป อุณหภูมิของน้ำเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หรือให้อาหารมากจนหรือทำให้น้ำเน่าเสียหรือไม่ก็ไม่ยอมเปลี่ยนถ่ายน้ำ เมื่อปลาขับถ่ายของเสียออกมามาก ทำให้น้ำมีแอมโมเนียสูง สาเหตุต่างๆ เหล่านี้หากไม่รุนแรงนักจะไม่ทำให้ปลาตายโดยตรงแต่จะเป็นสาเหตุที่ทำให้ปลาเครียดทำให้ปลาอ่อนแอไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร และยังมีภูมิต่างทานโรคลดน้อยลงทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้ง่าย เท่าที่พบในปัจจุบัน คือ
        1.
โรคจุดขาว เป็นโรคที่เกิดขึ้นเป็นประจำกับปลาตู้ และระบาดได้รวดเร็วมาก การป้องกันรักษา ใช้ฟอร์มาลีนเข้มข้นผสมกับมาลาไคท์กรีน แช่ติดต่อกัน 3-5 วัน จึงเปลี่ยนน้ำในตู้ปลา
        2.
โรคสนิม ถ้าส่องกล้องจุลทรรศน์จะเห็นเหมือนมีฟองสบู่อยู่มากกมายมักเกาะอยู่ตามบริเวณเหงือกและผิดหนัง ถ้ามีมากจะเหมือนกำมะหยี่สีเหลืองปนน้ำตาล กระจายเป็นหย่อมๆ เป็นอันตรายมากกับ
อ่านเพิ่มเติม »

อาหารและการให้อาหารปลาตู้

อาหารและการให้อาหารปลาตู้
อาหารปลาตู้
การให้อาหารปลาที่เลี้ยงในตู้กระจกเป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับผู้เลี้ยงปลาตู้ที่จะต้องให้ความสำคัญและสนใจ ซึ่งเราจะแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
       1. กลุ่มอาหารเป็น ได้แก่ สัตว์เล็กๆ ที่มีชีวิต และใช้เป็นอาหารได้ เช่น
          
ไรแดง เป็นสัตว์น้ำขนาดเล็กมีสีแดงพบมากในน้ำครำหรือคูน้ำโดยใช้สวิงตาถี่ ช้อนตามผิวน้ำในตอนเช้า และมีจำหน่ายตามร้านขายปลาตู้เป็นอาหารที่เหมาะกับปลาสวยงามขนาดเล็ก
          
ลูกน้ำ เป็นตัวอ่อนของยุง พบได้ทั่วไปตามแหล่งน้ำขังต่างๆ จับได้โดยใช้สวิงตาถี่ช้อนตักตามผิวน้ำ ซึ่งลูกน้ำลอยตัวอยู่
          
หนอนแดง เป็นตัวอ่อนของริ้นน้ำจืด มีสีแดง พบได้ทั่วไปตามพื้นที่ที่มีน้ำขังเป็นเวลานาน การจับต้องตักดินใส่ตะแกรงตาถี่และร่อนในน้ำสะอาดจนเศษดิน ผง หรือ
อ่านเพิ่มเติม »

การเลี้ยงปลาสวยงาม

การเลี้ยงปลาสวยงาม

ความสำคัญและประโยชน์ของการจัดตู้ปลาและสิ่งที่ควรรู้ในการเลี้ยงปลาตู้
ประโยชน์ของการจัดตู้ปลา
                                        
ปัจจุบันการจัดตู้ปลาได้รับความนิยมสูงมาก เพราะนอกจากจะให้ความ
                               
เพลิดเพลินแก่ผู้เลี้ยงแล้ว ยังให้ความสุขและความสวยงามแก่ผู้พบเห็นอีกด้วย
                              
นอกจากนี้ ยังมีส่วนช่วย กำจัดยุง ซึ่งเป็นพาหะในการนำเชื้อ โรคร้ายมาสู่มนุษย์
                               
เพราะปลาตู้ส่วนมากจะชอบกินลูกน้ำมากกว่าอาหารชนิดอื่นๆ และไม่ทำให้น้ำ
                              
ในตู้ปลาขุ่นเหมือนอาหารชนิดอื่นๆ อีกด้วย
                                     
ในการจัดตู้ปลานี้ นอกจากจะจัดกันภายในบ้านแล้ว ยังมีการจัดตู้ปลากัน
                              
ในสถานศึกษา หรือหน้าร้านต่าง ๆ เพื่อเป็นการพัฒนาสภาพจิตใจและร่างกาย
                               
ของมนุษย์ในสังคมให้ดีขึ้นซึ่งพอจะจัดแยกประโยชน์ของการจัดตู้ปลาได้เป็น
                               
ข้อ ๆ ดังนี้

ความสำคัญของการจัดตู้ปลา

     
การจัดตู้ปลา เป็นการแสดงออกถึงความรู้สึกที่ดีต่อธรรมชาติเป็นการแสดงรสนิยมด้านศิลปะที่เชื่อมโยงกับความ
งามของธรรมชาติที่สามารถสัมผัสได้และช่วย
อ่านเพิ่มเติม »

องค์ประกอบของการจัดตู้ปลา

องค์ประกอบของการจัดตู้ปลา

ตู้ปลา     เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของการจัดตู้ปลามีหลายรูปแบบแตกต่างกันออกไปสามารถเลือกแบบให้เหมาะสมกับ
สถานที่ ที่จะตั้งตู้ปลา รูปแบบของตู้ปลาที่นิยมใช้กันอยู่จะมี 2 รูปแบบ คือ
       1. แบบทรงกลม นิยมใช้ตั้งตามห้องรับแขก โต๊ะทำงาน ตู้เก็บเอกสาร หรือบริเวณที่มี
พื้นที่ที่ไม่กว้างนักมาขนาดไม่ใหญ่มากนักสามารถมองเป็นทัศนียภาพภายในได้อย่างทั่วถึง
เพราะเป็นวงกลม แต่เนื่องจากมีขนาดเล็ก จึงไม่สามารถจัดหรือตกแต่งให้สวยงามมาก ๆ
ได้
      2. แบบเหลี่ยม เป็นตู้ปลาที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย มีหลายขนาด หาซื้อได้ง่าย
เป็นตู้ปลาที่มีขนาดพื้นที่กว้างขวางกว่าแบบแรก อีกทั้งยังสามารถจัด หรือประดับพันธุ์
ไม้น้ำ หิน ลงไปในตู้ปลาได้อย่างสวยงามอีกด้วย ตู้ปลาแบบนี้ แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ
คือ
        
ตู้ปลาแบบมีกรอบ  ตู้ปลาประเภทนี้ส่วนมากจะเป็นตู้รุ่นเก่าจะมีกรอบ
อะลูมิเนียม และมีชันอุดกันรั่วซึม
        
ตู้ปลาแบบไม่มีกรอบ  เป็นตู้ปลารุ่นใหม่ ใช้กระจกมาต่อกันโดยใช้กาวซิลิโคน
เป็นตัวยึดกระจกให้ติดกัน เป็นที่นิยมของนักเลี้ยงปลาตู้ เพราะสามารถมองเห็นทัศนียภาพ
ภายในตู้ปลาได้อย่างทั่วถึงไม่เหมือนแบบมีกรอบซึ่งจะบังส่วนที่ตกแต่งไปบ้าง แต่ก็มีส่วน
เสีย คือ โครงสร้างจะไม่แข็งแรงเท่ากับตู้ปลาแบบมีกรอบ

ขนาดของตู้ปลา
     
การเลี้ยงปลาตู้ จำเป็นต้องเลือกตู้ปลาให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการเลี้ยงปลา เช่น การเลี้ยง ปลาตู้ เพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ หรือเป็นการประกอบอาชีพ หรือเพื่อเป็นการตกแต่งบ้าน หรือสำนักงาน นอกจากนี้ จะต้องคำนึงถึงจำนวนปลาที่จะเลี้ยงด้วย ตู้ปลาที่มีขนาดใหญ่ย่อมดีกว่าตู้ปลาที่มีขนาดเล็ก เพราะอุณหภูมิภายในตู้มีการเปลี่ยนแปลงน้อยกว่าตู้ปลาที่มีขนาดเล็ก
ตารางขนาดตู้ปลา
ลำดับ
ขนาดของตู้ปลา กว้าง x ยาว x สูง (ซ.ม.)
ความจุของน้ำ (ลิตร)
น้ำหนักทราย (กิโลกรัม)
กำลังไฟฟ้า (วัตต์)
1.
14 นิ้ว 36 x 24 x 24
20
5
10
2.
15 นิ้ว 39 x 30 x 24
28
7
10
3.
18 นิ้ว 45 x 30 x 30
32
8
10
4.
24 นิ้ว 60 x 30 x 30
54
13.5
20
5.
36 นิ้ว 90 x 45 x 45
182
45.5
20
6.
48 นิ้ว 120 x 60 x 60
432
108
40
     ในการทำตู้ปลา สิ่งที่จะลืมไม่ได้ก็คือ
อ่านเพิ่มเติม »

ปลาตู้ที่นิยมเลี้ยง

ปลาตู้ที่นิยมเลี้ยง

          ในการเลือกซื้อปลามาใส่ตู้ปลา ปัจจุบันชนิดปลาที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดของปลาสวยงามจะมีอยู่หลากหลาย มากมายกว่า 100 ชนิด ปลาแต่ละชนิดจะมีลักษณะนิสัยและการกินอาหารที่แตกต่างกัน ปลาบบางชนิดมีนิสัยสุภาพ บางชนิดดุร้าย จึงควรศึกษาลักษณะของปลาก่อน โดยหลักทั่วไปแล้วไม่ควรเลี้ยงปลาที่มีนิสัยก้าวร้าวร่วมกับปลาชนิดอื่น ๆ และไม่ควรเลี้ยงปลาที่มีขนาดเล็กใหญ่ ต่างกันมากในตู้เดียวกัน ดังนั้นการที่จะซื้อปลาแต่ละชนิดรวมไว้ในตู้เดียวกัน ควรศึกษาให้ดีเสียก่อน เช่น ศึกษาจากตำรา หรือสอบถามจากผู้ขายก็ได้ จากเลือกซื้อปลาควรเลือกปลาที่มีความสมบูรณ์แข็งแรงครีบต่างๆ จะต้องอยู่ครบไม่ขาด สีสันสดใส ว่ายน้ำปราดเปรียว ไม่หลบมุม และหัวไม่เชิดลอยน้ำ
          
ชนิดปลาที่นิยมเลี้ยงในตู้กระจกมีทั้งปลาพื้นเมืองของไทย และปลาที่นำเข้าจากต่างประเทศไทย ในที่นี้จะแนะนำชนิดของปลาซึ่งเป็นที่นิยมทั่วไป ดังต่อไปนี้
      ปลาทองหัวสิงห์ เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันในหมู่ผู้เลี้ยงปลา มีรูปทรงสวยงาม ซึ่งปลาทองหัวสิงห์จีน จะมีลักษณะหัวใหญ่และมีวุ้นหนา ลำตัวยาวส่วนปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่นส่วนหัวจะเล็ก มีวุ้นน้อยกว่าลำตัวสั่น หลังจะโค้งมน หางสั้น ปลาทองหัวสิงห์เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินลูกน้ำ ไรแดง การเลี้ยงปลาชนิดนี้ให้ได้ผลดีควรเลี้ยงในอ่างน้ำที่มี น้ำตื้นๆ ความลึกของน้ำไม่เกิน 8 นิ้ว จะทำให้ปลามีรูปร่างที่สวยงาม
      ปลาออสการ์ ลักษณะลำตัว
อ่านเพิ่มเติม »

วิธีการเลือกปลาที่จะเลี้ยง

วิธีการเลือกปลาที่จะเลี้ยง

      เมื่อได้เตรียมการขั้นตอนต่างๆ ไว้พร้อมแล้ว ก็ถึงตอนจัดหาปลาที่จะเลี้ยงมาลงตู้ปลา เรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องรีบร้อนค่อยๆ เลือกไปและต้องใจเย็นเพราะผลที่จะเกิดเป็นความเพลิดเพลินเจริญตาเจริญใจยิ่งนัก สำหรับนักเลี้ยงปลาตู้ เพราะถ้าขาดความรอบคอบไม่ระมัดระวังก็อาจจะได้ปลาที่อ่อนแอขี้โรค หรือบางที่ปลาอาจจะต้องเดินทางไกลกว่าจะถึงมือผู้เลี้ยง อาจทำให้เกิดความเครียดอ่อนเพลียและอาจกลายเป็นปลาขี้โรคได้เหมือนกันฉะนั้นการจัดหาปลามาเลี้ยงมีสิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ
      1.
ขนาดของปลา เมื่อปลาโตเต็มที่ ปลาส่วนใหญ่ที่อยู่ในตู้ของผู้ขายเป็นปลาวัยรุ่นเมื่อนำมาเลี้ยงในตู้ปลาของเราเวลาปลาโตเต็มที่อาจมีขนาดยาวถึง 5 นิ้วฟุต หรือบางชนิดเมื่อโตเต็มที่อาจมีขนาดยาวเพียง 1-5 นิ้วฟุต ถ้านำปลามาเลี้ยงรวมกัน ปลาใหญ่ก็จะรักแกปลาเล็ก เพราะฉะนั้นเวลาซื้อปลาควรถามเจ้าของให้รู้แน่เสียก่อนว่าปลามีขนาดเท่าใดขณะโตเต็มที่และไม่ควรเลี้ยงปลาที่ขนาดต่างกันมาไว้ในตู้เดียวกัน ปลาที่อยู่ในตู้เดียวกันจะต้องเป็นปลาที่มีขนาดใกล้เคียงกันเมื่อโตเต็มที่
      2.
ประเภทของปลา ควรระวังในการซื้อปลา เพราะหากผู้เลี้ยงไม่มีความรู้เกี่ยวกับประเภทของปลา อาจซื้อปลาที่ออกหากินเวลากลางคืน ในเวลากลางวันมันจะหมกซ่อนตัวอยู่ตามต้นพืชและลังก้อนหินตลอดเวลา แทนที่จะได้ชมเล่นในเวลากลางวันกลับไม่ได้เห็นปลาเลย

ประเภทของปลาตู้
     
ปลาที่เลี้ยง
อ่านเพิ่มเติม »

หลักและวิธีการจัดตู้ปลา

หลักและวิธีการจัดตู้ปลา

หลักการจัดตู้ปลา
     
หลักการจัดตู้ปลาเป็นการจัดสภาพที่อยู่อาศัยของปลาเลียนแบบธรรมชาติภายในตู้ปลา ซึ่งมีพื้นที่จำกัด และเพื่อให้เกิดความสวยงาม ในการจัดตู้ปลานั้น ควรคำนึงถึงพื้นฐานต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
     1.
ความกลมกลืน หมายถึง การจัดวัสดุอุปกรณ์ให้เกิดความกลมกลืน เช่น ของที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันทั้งทางด้านขนาด รูปร่าง สีสัน ผิวพรรณและทิศทาง ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ
        
ความกลมกลืนทางพฤกษศาสตร์ คือ ความกลมกลืนของพันธุ์ไม้ที่นำมาจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
        
ความกลมกลืนทางวัตถุ เช่น หิน กรวด ที่ใช้ประดับตกแต่งตู้ปลาควรเลือกลักษณะผิว และสีสันที่คล้ายคลึงกัน เมื่อนำมาจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกันแล้วย่อมจะมีความกลมกลืนซึ่งกันและกัน
     2.
จุดเด่น ไม่ว่าจะเป็นหิน พันธุ์ไม้น้ำ เปลือกหอย กรวด หรือสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ควรคำนวณการจัดตำแหน่งให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดจุดเด่นเป็นจุดสนใจสำหรับผู้พบเห็น
     3.
จุดเน้น คือ การเน้นจุดใดจุดหนึ่ง ภายในตู้ปลาเป็นกรณีพิเศษ เช่น การจัดตู้ปลาโดยการรองพื้นด้วยกรวดก็จะดูเป็นธรรมดาแต่อาจนำสิ่งประดิษฐ์ไปวางเพื่อแสดงความสำคัญของ
อ่านเพิ่มเติม »

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับปลาตู้

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับปลาตู้
ปลาตู้ เป็นชื่อเรียกง่าย ๆ ของปลาที่เลี้ยงในตู้กระจก
ปลาตู้จัดเป็นสัตว์น้ำที่ใช้อวัยวะส่วนครีบ และกล้ามเนื้อช่วยในการเคลื่อนไหว หายใจด้วยเหลือก มีกระดูกสันหลัง มีรูปร่าง และสีสันที่สวยงามและแตกต่างกันไป ซึ่งสีสันต่าง ๆ ที่เราดูสวยงามนั้น เป็นเพียงสิ่งอำพรางหรือการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม เพื่อให้พ้นภัยจากศัตรูและยังสามารถช่วยดึงดูดความสนใจจากเพศตรงข้าม การที่เราจะเริ่มเลี้ยงปลาตู้เราจึงควรต้องศึกษาลักษณะส่วนต่าง ๆ ของปลาที่เกี่ยวข้องกับระบบการเจริญเติบโตของปลา การวางไข่ และนิสัยความเป็นอยู่ เพื่อช่วยปรับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ให้เหมาะสมต่อความต้องการของปลาให้ดีขึ้น

ลักษณะทั่วไปของปลาตู้
    1.
ลักษณะสัดส่วนของลำตัวแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ทั้งด้านซ้ายและด้านขวาจะมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ
    2.
บริเวณเหงือกมีช่องเปิดสำหรับการหายใจ
    3.
เป็นสัตว์เลือดเย็น
    4.
แยกสัดส่วนที่ชัดเจนคือ ส่วนหัว ลำตัว และหาง มีทั้งประเภทมีเกล็ดและไม่มีเกล็ด
    5.
มีการให้ลูกแตกต่างกัน บางชนิดออกลูกเป็นไข่ แต่บางชนิด
อ่านเพิ่มเติม »

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ผู้ติดตาม