การเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูง

การเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูง

         ในการเพาะพันธุ์ปลาหางนก ยูงเพื่อการค้านั้น ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จหรือไม่ นอกเหนือจากวิธีการเพาะพันธุ์ปลาแล้ว วิธีการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์และการอนุบาลลูกปลาก็นับว่าเป็นปัจจัยที่ล้วนแต่มี ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ซึ่งจะได้กล่าวถึงปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวต่อไปนี้

การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาหางนกยูง
         เนื่องจากปลาหางนกยูงจะ เจริญถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่อปลามีอายุเพียง 3 เดือนเท่านั้น ดังนั้นเมื่อลูกปลาโตพอที่จะแยกเพศได้ (อายุประมาณ 1-2 เดือน) ควรเลี้ยงแยกเพศไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาผสมพันธุ์กันเอง ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้ลูกปลาที่ได้จากการผสมพันธุ์กันเอง มีคุณภาพทางด้านลวดลายและรูปร่างไม่ตรงตามที่เราต้องการ

         การเลี้ยงปลาหางนกยูง เพื่อเป็นพ่อแม่พันธุ์ควรเลี้ยง
ในบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึงในเวลาเช้าหรือ เย็น ถ้าเลี้ยงกลางแจ้งควรใช้ตาข่ายบังแสงให้ส่งผ่านได้เพียง 25-40% ภาชนะที่ใช้เลี้ยงใช้ได้ทั้งอ่างซีเมนต์ หรือตู้กระจก น้ำที่ใช้เลี้ยงควรเป็นน้ำสะอาดปราศจากคลอรีน มีความเป็นกรดด่าง (pH) 6.5-7.5 (ความเป็นกรดด่างที่เหมาะสมที่สุดต่อปลาหางนกยูงคือ 6.8 มีปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำไม่ต่ำกว่า 5 ppm. (ควรมีอุปกรณ์เพิ่มออกซิเจนในน้ำตลอดเวลา) ความกระด้างของน้ำ 75-100 ppm. ความเป็นด่าง 100-200 ppm. และอุณหภูมิน้ำ 25-29 C
         ปลาหางนกยูงเป็นปลาที่ สามารถกินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ (Omin vorous) ในการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์สามารถให้อาหารจำพวกสัตว์น้ำขนาดเล็ก เช่น ลูกน้ำ ไรแดง (Moina) สีน้ำตาล (Artemia) หรือหนอนแดง (Chrionomus) ในภาพที่มีชีวิตหรือตายก็ได้ หรืออาจจะเลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปชนิดต่างๆ ที่มีโปรตีนไม่ต่ำกว่า 40% ก็ได้ในการให้อาหารสด ก่อนให้อาหารทุกครั้งควรแช่อาหารในด่างทับทิมเข้มข้น 500-1,000 ส่วนในล้านส่วน (0.5 - 1.0 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร) เป็นเวลา 10-20 วินาทีฆ่าเชื้อโรคที่ติดมาเชื้อโรคที่ติดมากับอาหารแล้วจึงล้างด้วยน้ำสะอาด อีกครั้งหนึ่ง ปริมาณอาหารควรให้วันละ 10% ของน้ำหนักตัวปลาหรือในปริมาณที่ปลากินอิ่มพอดีให้อาหารวันละ 2 ครั้งในตอนเช้าและเย็น หากมีอาหารเหลือจากปลากินอิ่มแล้วควรดูดทิ้งให้หมด ส่วนมีอาหารแห้งควรให้วันละ 2 - 4% ของน้ำหนักตัวปลาหรือให้ในปริมาณปลากินอิ่มและควรให้วันละ 2 ครั้งเช่นกัน
         การถ่ายน้ำน้ำควรจะกระทำ ทุกวัน โดยการดูดตะกอนก้นตู้ให้สะอาดแล้วดูดน้ำในตู้ออกวันละประมาณ ? ของปริมาณน้ำในตู้ปลาแล้วเติมน้ำให้เท่าระดับเดิม

การสังเกตเพศของปลาหางนกยูง




         ในการสังเกตเพศของปลาหางนกยูง สังเกตได้ง่ายเพราะปลานกยูงเพศผู้และเพศเมียมีลักษณะแตกต่างกันอย่างชัดเจน ดังนี้

1. ขนาดและความยาวของหาง ปลาเพศผู้จะมีครีบหางยาวและมีสีสวยกว่าปลาเพศเมียแม้ว่าขนาดลำตัวของปลาเพศผู้จะสั้นกว่าก็ตาม

2. สังเกตสีสันของปลา ตามปกติปลาหางนกยูงเพศผู้จะมีสีสันสวยงามกว่าปลาหางนกยูงเพศเมีย ในขณะที่ปลาว่ายน้ำจะกางครีบออกโบกสะบัดไปมาเพื่อดึงดูดความความสนใจของปลา เพศเมีย

3. ปลาหางนกยูงเพศผู้จะมี อวัยวะเพศ (gonopcdium) ยื่นยาวออกมา สังเกตเห็นได้ชัดเจน และปลาเพศผู้จะพยายามว่ายน้ำรัดปลาเพศเมียอยู่ตลอดเวลา ส่วนปลาเพศเมียเมื่อท้องแก่ส่วนของท้องจะพองขยายออก และจะพบปานดำเกิดขึ้นที่ท้องของแม่พันธุ์ ยิ่งปลาท้องแก่ยิ่งสังเกตเห็นได้ชัด

4. การผสมพันธุ์ของปลาหางนก ยูง จาการที่ปลาหางนกยูงเป็นปลาที่สวยงามที่ออกลูกเป็นตัว หรือจัดเป็นปลาสวยงามพวกที่มีการผสมภายในลำตัว (intermal fetilization) โดยปลาเพศผู้จะสอดอวัยวะช่วยในการผสมพันธุ์ (gonopodium) เข้าไปในอวัยวะสืบพันธุ์ของปลาเพศเมีย พร้อมกับปล่อยเชื้อเข้าไปผสมกับไข่น้ำเชื้อของปลาเพศผู้จะตกค้างอยู่ภายใน รังไข่ของปลาเพศเมีย และสามารถมีชีวิตอยู่ได้นาน จึงทำให้เกิดปัญหาในการปรับปรุงพันธุ์ปลาหางนกยูง เนื่องจากเชื้อที่ตกค้างอยู่นี้ ผู้เพราะพันธุ์จึงจำเป็นต้องเลี้ยงแยกปลาพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ เพื่อป้องการการผสมของพ่อพันธุ์ที่ไม่ต้องการ ดังนั้นหลังจากปลาเพศเมียที่ได้รับการผสมแล้วจะออกลูกครอกหนึ่งๆ โดยใช้เวลา 28-30 วัน และปลาเพศเมียสามารถที่ให้ลูกครอกต่อไปได้อีก โดยไม่จำเป็นต้องมีปลาเพศผู้ผสมเหมือนครั้งแรก เนื่องจากยังมีเชื้อปลาเพศผู้ตกค้างอยู่ในปลาเพศเมียอีกมาก

การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์

         ในการคัดเลือกปลาเพศผู้ เพศเมียเพื่อทำการผสมพันธุ์ ควรเลือกปลาที่มีอายุ 3 เดือนขึ้นไป มีลักษณะลำตัวและครีบสมบูรณ์ รูปร่างได้สัดส่วนไม่พิการแข็งแรงว่ายน้ำปราดเปรียว มีสีและลวดลายสวยงาม ปลาเพศผู้จะมีลักษณะต่างจากเพศเมีย ตรงที่มีอวัยวะช่วยในการสืบพันธุ์เรียกว่า gonopdium ซึ่งดังแปลงมาจากครีบก้น ปลาเพศผู้และเพศเมียควรมีลักษณะสีและลวดลายที่เหมือนกัน หรือคล้ายกันมากที่สุด เพื่อให้ได้ลูกปลาที่มีลักษณะไม่แปรปรวนมาก บางครั้งในการคัดลักษณะสีและลวดลายของปลาเพศเมียอาจจะมีปัญหายุ่งยาก เนื่องจากสีและลวดลายไม่เด่นชัดเหมือนกับปลาเพศผู้ วิธีที่จะช่วยเพิ่มสีและลวดลายให้เห็นได้ชัดเจนขึ้นในปลาเพศเมีย กระทำได้โดยหยดสารละลายฮอร์โมนเมทธิลเทสโตสเตอโรน (Methyl tesosterone) เข้มข้น 0.1 ppm 2 หยด ลงในภายชนะที่เลี้ยงปลาเพศเมียที่มีประมาตร 3.5 ลิตร ต่อปลา 1 ตัว และเติมสารละลายเมธิลเตสเตอโรน เพิ่มอีกวันละ 2 หยด ซึ่งสีจะปรากฏให้เห็นภายใน 2 สัปดาห์ หลังจากคัดเลือกปลาเพศเมียได้ตามที่ต้องการแล้ว ต้องรีบตักปลาออกจากสารละลายฮอร์โมนทันที เพราะถ้าแช่นานเกินไปทำให้ปลาเป็นหมันได้

การผสมพันธุ์ปลาหางนกยูง
         เมื่อคัดปลาเพศผู้และเพศ เมีย ตามลักษณะที่กล่าวไว้ในข้างต้นแล้วใส่เลี้ยงรวมกันในภาชนะที่เตรียมไว้ สำหรับเพาะพันธุ์ แล้วใส่เลี้ยงรวมกันในภาชนะที่เตรียมไว้สำหรับเพาะพันธุ์ ซึ่งจะเป็นอ่างซีเมนต์ หรือตู้กระจกได้ ในอัตราเพศผู้ 2 ตัว ต่อตัวปลาเพศเมีย 5 ตัว โดยปล่อยในอัตราส่วนเพศผู้ 10 ต่อตัวปลาเพศเมีย 25 ตัว ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร

         หลังจากปล่อยปลาเพศผู้และ เพศเมียรวมกัน เมื่อปลาจะผสมพันธุ์กัน ปลาเพศผู้จะว่างไปใกล้ปลาตัวเมีย และจะปล่อยน้ำเชื้อผ่านทางอวัยวะช่วยในการสืบพันธุ์ (Gonopodium) ไปเก็บไว้ในท่อนำไข่ (Ovduct) ของปลาเพศเมีย (น้ำเชื้อของปลาเพศผู้สามารถเก็บไว้ในท่อนำไข่ได้นานถึง 8 เดือน) หลังจากน้ำเชื้อผสมกับไข่ในท้องปลาเพศเมียแล้ว จะใช้เวลาพักในท้องนานประมาณ 22-30 วัน จึงจะฟักออกเป็นตัว หลังจากออกไข่ได้การผสมกับน้ำเชื้อแล้วจะสังเกตเห็นว่าบริเวณท้องของปลาเพศ เมียจะพองบวมขึ้น และเมื่อสังเกตเห็นว่าบริเวณท้องของปลาเพศเมียบวมออกทั้ง 2 ช้างเต็มที่ ให้จับปลาหงายท้องขึ้นหากเป็นดำๆ ซึ่งเรียกว่า "Gravid spot" จับปลาเพศเมียแยกไปเลี้ยงในภาชนะอื่นที่มีระดังน้ำตื้นๆ และมีพรรณไม้น้ำเพื่อเป็นที่หลบซ่อนของลูกปลา เมื่อลูกปลาพัฒนาเต็มที่ก็จะคลอดออกมาจากท้องแม่ปลาทางช่องเปิดบริเวณท้อง (Vent) ปล่อยให้ลูกปลาออกจากท้องแม่ปลาจนหมดแล้วจึงตักแม่ปลาออกเพื่อป้องกันไม่ให้ แม่ปลากินลูกปลาเกิดใหม่ จำนวนลูกปลาแต่ละครอกอาจมีมากถึง 200 ตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของแม่ปลา แต่โดยเฉลี่ยจะมีประมาณ 40-50 ตัว อนึ่งสถานที่ๆ สำหรับวางภาชนะเพื่ออนุบาลลูกปลานั้นควรเป็นที่มีหลังคากันแดดและฝนได้เพื่อ ป้องกันการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม เช่น การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ pH ของน้ำเนื่องจากลูกปลาวัยอ่อนที่เกิดใหม่จะมีความต้านทานต่อการเปลี่ยนสภาพ แวดล้อมได้น้อย ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ลูกปลาอ่อนแอและเกิดโรคได้ง่าย 





การอนุบาลลูกปลา
         ลูกปลาหางนกยูงที่เกิด ใหม่มีขนาดค่อยข้างใหญ่ ในระยะแรกสามารถใช้ไรแดงหรือไรสีน้ำตาลที่ฟังใหม่ๆ เป็นอาหาร โดยให้ในปริมาณที่ปลากินอิ่มพอดีวันละ 2 มื้อ ในตอนเช้าและเย็นประมาณ 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นสามารถเปลี่ยนเป็นเลี้ยงด้วยลูกน้ำหรืออาหารสำเร็จรูปได้ทุกๆ วัน ต้องดูตะกอนก้นตู้และเศษอาหารที่เหลือในตู้ออกให้หมดพร้อมทั้งดูดน้ำทิ้งไป ประมาณ 1/4 ของตู้ แล้วเติมให้ได้ระดับเดิม เมื่อลูกปลาได้อายุประมาณ 1 - 2 เดือน ควรจะเลี้ยงแยกเพศเพื่อป้องกันไม่ให้ปลาเพศผู้ไล่ล่าตามปลาเพศเมียซึ่งเป็น สาเหตุทำให้ปลาเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ


การเพาะเลี้ยงปลาหางนกยูง
         ขั้นตอนที่ 1 เตรียมบ่อซีเมนต์ขนาด 1-4 ตรม. ระดับน้ำลึก 30-50 ซม. ใส่พุ่มเชือกฟางตระกร้าหรือฝาชี เพื่อให้ลูกปลาใช้เป็นที่ลูกปลาหลบซ่อน
         ขั้นตอนที่ 2 คัดพ่อแม่ปลาสายพันธุ์ เดียวกัน ที่ลักษณะดีสีสวยอายุประมาณ 4-6 เดือน โดยคัดปลาเพศผู้ ลำตัวโตแข็งแรง ครีบหลัง ครีบหางใหญ่และแผ่กว้าง สีเข้มสดใสสวยงาม ส่วนปลาเพศเมียคัดเลือกสายพันธุ์เดียวกันกับปลาเพศผู้ ลำตัวโต แข็งแรง ปราดเปรียว ครีบหางเข้ม สดใส ปล่อยรวมกันในอัตรา 120-180 ตัว/ลบ.ม. ในสัดส่วนเพศผู้ : เพศเมีย เท่ากับ 1 : 3 หรือ 1 : 4 ระหว่างการเพาะพันธุ์ให้ไรแดงเป็นอาหารในตอนเช้า และให้อาหารสำเร็จรูปในตอนเย็นปลาเพศเมียที่ได้รับการผสมแล้วจะเห็นเป็นจุด สีดำบริเวณท้อง
         ขั้นตอนที่ 3 หลักจากแม่ปลาได้รับการ ผสมพันธุ์ประมาณ 26-28 วัน จะมีลูกปลาวัยอ่อนเกิดขึ้นและหลบซ่อนอยู่ตามวัสดุที่ใส่ไว้ในบ่อ ให้รวบรวมลูกปลาออกทุกวันสะสมไว้ในบ่ออนุบาล ประมาณ 4-5 วัน/บ่อ เพื่อให้ลูกปลามีขนาดใกล้เคียงกัน โดยปล่อยลูกปลาในอัตราความหนาแน่น 140-300 ตัว/ลบ.ม. ในระยะแรกให้ไรแดงเป็นอาหารในตอนเช้าและเย็นทุกวันเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นจึงให้อาหารสำเร็จรูป จนกระทั่งลูกปลามีอายุประมาณ 3 สัปดาห์ ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เริ่มแยกเพศได้ โดยปลาเพศเมียสังเกตจุดสีดำบริเวณรูเปิดช่องท้อง ส่วนปลาเพศผู้ เมื่อมาจากด้านบนมีรูปร่างเรียวยาวกว่าเพศเมีย



         ขั้นตอนที่ 4 คัดขนาดและแยกเพศปลา นำไปแยกเลี้ยงในบ่ออัตรา 200-300 ตัว/ลบ.ม. ให้กินไรแดงเป็นอาหารในตอนเช้าส่วนตอนกลางวันและตอนเย็นให้กินอาหารสำเร็จ รูปเลี้ยงเป็นระยะเวลา 3 เดือน (ปลามีอายุประมาณ 4 เดือน)
         ขั้นตอนที่ 5 ปลาหางนกยูงอายุประมาณ 4 เดือน จะถูกคัดขนาดและคัดเลือกปลาที่แข็งแรงสมบูรณ์ เพื่อนำไปเลี้ยงไว้ในบ่อพักปลาเพื่อเตรียมส่งจำหน่ายต่อไป

เทคนิคการเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูง



         ในการเพาะพันธุ์ปลาสวยงาม เพื่อให้ได้ลูกปลาที่มีลักษณะดี ผู้เพาะพันธุ์ปลาควรใช้หลักการดังนี้

         1. ให้ทำการคัดเลือกปลาแม่ พันธุ์ โดยเลือกปลาแม่พันธุ์ที่มีลักษณะสวยงาม แข็งแรง และสมบูรณ์ปลาแม่พันธุ์ที่เลือกไว้ทำพันธุ์ให้ทำการคัดเลือกเมื่อปลาหางนก ยูงมีอายุได้ 3-4 เดือน ก่อนที่ปลาเพศเมียจะถูกผสม ถ้าคัดปลาแม่พันธุ์ที่มีอายุมาก ปลาเพศเมียอาจอาจมีเชื้อปลาเพศผู้ที่ไม่ต้องการตกค้างอยู่ในรังไข่ได้ ทำให้ไม่สามารถควรคุมคุณภาพของปลา ดังนั้น จึงจำเป็นต้องคัดเลือกปลาแม่พันธุ์เมื่ออายุยังน้อย เพื่อให้ได้แม่พันธุ์ที่บริสุทธิ์

         2. หลังจากคัดเลือกปลาแม่พันธุ์แล้ว ให้ทำการเลี้ยงปลาแม่พันธุ์แยกจากปลาเพศผู้ เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาผสมกันก่อนอายุเท่าที่ควร

         3. ให้ทำการคัดเลือกปลาพ่อ พันธุ์ที่มีลักษณะตามต้องการ พร้อมกับนำไปปล่อยรวมกับปลาเพศเมีย โดยใช้ปลาหางนกยูงเพศผู้ 1 ตัว ต่อปลาเพศเมีย 2-3 ตัว

         4. เมื่อปล่อยปลาพ่อพันธุ์ และปลาแม่พันธุ์เลี้ยงร่วมกนแล้ว ให้สังเกตที่ท้องของปลาแม่พันธุ์ ถ้าพบว่าปลาแม่พันธุ์ท้องพองเป่ง และมีจุดดำปรากฏให้เห็น ให้ทำการแยกปลาเพศเมียเลี้ยงในตู้เพาะทันที เพื่อไม่ให้ปลาแม่พันธุ์ถูกรบกวน เมื่อปลาแม่พันธุ์ออกลูกแล้ว ให้แยกปลาแม่พันธุ์ออกทันที เพราะปลาแม่พันธุ์อาจกินลูกของตัวเองก็ได้ หรืออาจจะปลูกไม้น้ำพวกสาหร่ายไว้ในตู้เพาะพันธุ์ก็ได้ เพื่อให้ลูกปลาหางนกยูงหลบซ่อนศัตรูก็ได้ ปลาหางนกยูงจะคลอดลูกครอกหนึ่งๆ ประมาณ 40-50 ตัว

         5. ในระยะแรกของการอนุบาลปลา ลูกปลา ควรให้อาหารพวกไรแดง และควบคุมให้อุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง 20-25 องศาเซลเซียส ซึ่งจะช่วยให้ปลากินอาหารเก่ง และโตเร็ว

         6. ควรใส่ยาปฏิชีวนะพวกเตต้าซัยคลิน คลอแรมเฟนิคอล ทุกๆ ครั้งที่ถ่ายเทน้ำ และหลังจากถ่ายเทน้ำแล้ว ควรใส่เกลือลงไปในน้ำทุกครั้ง

         7. เมื่อลูกปลาอายุได้ 3-4 เดือน ควรทำการแยกเพศปลาและทำการเลียงปลาเพศเมียแยกไว้ต่างหาก เพื่อป้องการกันผสมพันธุ์ของปลาจากปลาพ่อพันธุ์ที่ไม่ต้องการ

ปัญหาการเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูง

         ในการเพาะพันธุ์ปลาหางนก ยูง นับว่ามีปัญหามาก เพราะลูกปลาที่ได้มีลักษณะความแปรปรวนมาก สาเหตุที่ทำให้ลูกปลาหางนกยูงมีลักษณะ ด้อยกว่าปลาพ่อพันธุ์ปลาแม่พันธุ์ เนื่องมาจาก

         1. ปลาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ เป็นปลาที่มาจากครอกเดียวกัน ในการเลี้ยงปลาถ้าไม่ทำการแยกเพศตั้งแต่ปลามีอายุ 3-4 เดือน อาจเกิดปัญหาการผสมในครอกเดียวกันก็ได้ เมื่อการผสมแบสายเลือดชิด จะทำให้ลูกที่ได้มีลักษณะด้อยลงไปเรื่อย ๆ

         2. ปลาเพศเมียผ่านการผสม พันธุ์จากปลาเพศผู้มาแล้ว จึงมีเชื้อของของปลาเพศผู้ตกค้างอยู่ในตัวแม้ว่าจะนำปลาพ่อพันธุ์ที่มีความ สวยงามมาผสมพันธุ์ ก็ไม่เกิดผลอะไรขึ้น เพราะเชื้อเก่ายังคงอยู่ในปลาเพศเมีย ทำให้ไม่ได้ลูกปลาตามที่ต้องการ

         3. ปลาพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์คุณภาพไม่ดี เนื่องจากเทคนิคการเพาะเลี้ยงและการอนุบาลปลาหางนกยูงยังไม่ดีพอ

         4. ปลาที่เพาะพันธุ์เกิดการ ผสมกันเอง จากการที่ปลาหางนกยูงออกลูกเป็นครอก เมื่อนำมาเลี้ยงร่วมกันอาจผสมพันธุ์กันเองได้ เพราะปลาหางนกยูงโตเร็ว จึงจำเป็นต้องรีบแยกปลาก่อนที่จะเกิดการผสมกันเอง















Leave a Reply

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ผู้ติดตาม