การเพาะไรแดง

การเพาะไรแดง


ชีวประวัติของไรแดง
ไรแดงเป็นสัตว์น้ำจำพวกไม่มีกระดูกสันหลังหรือที่เรียกกันว่าพวก Crustacean มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Moina macrocopa (Straus) และมีชื่อสามัญว่า Water flea

ลักษณะของไรแดง
ไรแดง (Moina macrocopa) เป็นแพลงค์ตอนสัตว์ชนิดหนึ่งที่มีขนาด 0.4 ถึง 1.8 มม. ลำตัวมีสีแดงเรื่อๆ ถ้าอยู่รวมกันเป็นจำนวนมากจะเป็นกลุ่มสีแดงชัดเจน โดยเฉพาะในน้ำที่มีอ๊อกซิเจนละลายอยู่น้อยมากจะมองเห็นไรแดงสีเข้มมากขึ้น ไรแดงเพศเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้ ลำตัวอ้วนเกือบกลม มีขนาดเฉลี่ย 1.3 มม. ส่วนเพศผู้ตัวเล็กค่อนข้างยาวกว่า มีขนาดเฉลี่ย 0.5 มม. ตัวอ่อนที่ออกจากถุงไข่ของแม่ใหม่ๆ จะมีขนาด 0.22 x 0.35 มม.

ไรแดงมีการสืบพันธุ์อยู่ 2 แบบ คือ แบบอาศัยเพศ (Parthenogenesis) ซึ่งเกิดเกือบตลอดปี ตัวเมียที่มีการสืบพันธุ์แบบนี้จะผลิตไข่ชนิดพิเศษที่เรียกว่า parthenogenesis egg ไข่ชนิดนี้สามารพเจริญเป็นตัวอ่อนโดยไม่ต้องอาศัยเชื้อตัวผู้เพื่อการผสมพันธุ์ จำนวนไข่มีไม่แน่นอน คือมีจำนวน 5-30 ฟอง โดยเฉลี่ยมีจำนวน 15 ฟอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
สภาพแวดล้อมและความสมบูรณ์ของตัวแม่ ไข่ชนิดนี้เมื่อถูกผลิตขึ้นมาจะเคลื่อนเข้าสู่ช่องฟักไข่ซึ่งเป็นช่องว่างตรงส่วนหลังระหว่างเปลือกหุ้มลำตัว ช่องฟักไข่นี้สามารถปิดและเปิดได้โดยอาศัยเส้นขน 2 เส้นบนส่วนท้ายของลำตัว ไข่จะเจริญอยู่ในช่องฟักไข่นับตึ้งแต่ฟักเป็นตัวอ่อนที่มีรูปร่างคล้ายตัวเต็มวัย จะกระทั่งถูกปล่อยออกมาจากตัวแม่ ดังนั้นไรแดงในระยะวัยอ่อนได้อาหารจากแม่โดยผ่านทารก (Placenta) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณด้านหลังของช่องฟักไข่ ตัวแม่ไรแดงจะปล่อยลูกอ่อนออกสู่ภายนอกตัว โดยการขยับส่วนหลังของลำตัวมาทางข้างล่าง โดยทั่วไปไข่ไรแดงชุดใหม่จะเคลื่อนเข้าสู่ช่องฟักไข่ทันทีที่ตัวอ่อนชุดแรกถูกปล่อยออกจากลำตัวแม่ ขบวนการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศจะดำเนินเช่นนี้เรื่อยไปจนตัวแม่ไรแดงตาย

ส่วนการสืบพันธุ์แบบมีเพศ (sexual female) จะเกิดขึ้นในสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่น น้ำเสีย ขาดแคลนอาหาร สภาวะอากาศไม่เหมาะสม ปัจจัยดังกล่าวจะอิทธิพลทำให้ไรแดงเปลี่ยนวิธีการสืบพันธุ์ ในช่วงเวลานี้จะมีไรแดงตัวผู้และไรแดงตัวเมียที่สืบพันธุ์แบบมีเพศขึ้นในประชากรไรแดง ไรแดงที่มีการสืบพันธุ์แบบมีเพศโดยตรงเฉพาะเพศเมียเมื่อเจริญวัยเต็มที่จะผลิตไข่ที่เรียกว่า sexual egg ขึ้นจำนวน 2 ฟอง (รังไข่ละ 1 ฟอง) มีลักษณะทึบแสง ซึ่งจะต้องผสมกับเชื้อตัวผู้จึงจะเจริญเป็นตัวอ่อนได้ ในเวลาเดียวกับที่ sexual egg ถูกผลิตขึ้นมานั้นจะมีการสร้างเปลือกหุ้มไข่ที่สร้างขึ้นล่วงหน้าแล้ว จะปิดรวงไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว เมื่อไรแดงตัวแม่ลอกคราบครั้งต่อไป ephippium egg (ไข่ที่มีเปลือกหุ้ม) จะถูกปล่อยออกจากตัวแม่และจมลงสู่พื้น เปลือกหุ้มไข่ของไรแดงนี้ถูกสร้างขึ้นมาอย่างพิเศษ คือมีเปลือกหนาและมีลวดลายเป็นรูปหกเหลี่ยม จึงมีความสามารถทนทานต่อสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี ต่อเมื่อสภาวะแวดล้อมกลับสู่สภาวะปกติไข่ดังกล่าวจะเจริญเป็น parthenogenesis egg อีกครั้งหนึ่ง ส่วน sexual egg ที่ไม่ได้รับการผสมจะสลายตัวไปโดยไม่ต้องเคลื่อนเข้าสู่ช่องฟักไข่ และเปลือกหุ้มไข่ที่ถูกสร้างขึ้นก็จะสลายตัวไป 

ไรแดงจะมีช่วงการดำรงชีวิตอยู่นานระหว่าง 95-156 ชั่วโมงและเมื่อสภาวะแวดล้อมเหมาะสมสามารถขยายพันธุ์ได้ถึง 5 รุ่น โดยในแต่ละรุ่นจะให้ลูกเฉลี่ย 15 ตัว

ส่วนองค์ประกองด้านอาหารของไรแดงแห้งพบว่าประกอบไปด้วยโปรตีนประมาณ 74.095% คาร์โบไฮเดรตประมาณ 12.5% ไขมันประมาณ 10.19% และถ้าประมาณ 3.47%

ปัจจัยสำคัญต่างๆ ในการเพาะเลี้ยงไรแดง
การเพิ่มผลผลิตของไรแดงในบ่อนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ พลังงานจากแสงแดดเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ขบวนการต่างๆ ในภาพดำเนินไปด้วยดี ปุ๋ยและอาหารต่างๆ ต้องการพลังงานจากแสงแดด ในการสลายตัวเพื่อเป็นอาหารของน้ำเขียว และยังก่อให้เกิดบัคเตรีในน้ำอีกจำนวนมากมายที่เป็นอาหารโดยตรงต่อการเพิ่มไรแดง ขบวนการสังเคราะห์แสง จะใช้ของเสียต่างจำพวกแอมโมเนีย คาร์บอนไดออกไซค์ และอื่นๆ ที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นในบ่อ ทำให้คุณสมบัติของน้ำดีขึ้น อีกทั้งการสังเคราะห์แสง การหมุนเวียนของน้ำจะเพิ่มปริมาณอ๊อกซิเจนในน้ำซึ่งเป็นประโยชน์โดยตรงต่อไรแดง การเพิ่มปริมาณน้ำเขียวมากขึ้นและการใส่ยีสต์ก็สามารถช่วยในการเพิ่มผลผลิตของไรแดงได้อย่างมหาศาลเช่นเดียวกัน

การเพาะเลี้ยงไรแดงในบ่อซีเมนต์
1. อุปกรณ์
1.1 บ่อผลิต ลักษณะของบ่อซีเมนต์ ถ้าเป็นการลงทุนใหม่ บ่อซีเมนต์ที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงไรแดงที่เหมาะสม ควรมีลักษณะเป็นรูปไข่แต่ถ้ามีบ่อซีเมนต์สีเหลี่ยมอยูแล้วก็สามารถนำมาใช้ได้เช่นกัน พื้นก้นบ่อ และข้างบ่อของบ่อไรแดงควรฉาบและขัดมันให้เรียบร้อย เพื่อความสะดวกในการหมุนเวียนของน้ำ เพราะถ้าไม่มีการหมุนเสียนของน้ำที่ดีแล้ว จะให้น้ำเขียวตกตะกอนง่าย แล้วน้ำเขียวจะตาย ซึ่งจะทำให้ผลผลิตของไรแดงลดน้อยลงบ่อซีเมนต์ที่ใช้ในการเพาะไรแดงควรมีทางน้ำเข้าและทางน้ำออก เพื่อสะดวกในการเพาะ การล้าง และการเก็บเกี่ยวไรแดง
ขนาดของบ่อซีเมนต์ ขนาดของบ่อเพาะไรแดงจะขึ้นอยู่กับความต้องการผลผลิตของไรแดง แต่ในด้านความสูงของบ่อควรจะมีความสูงประมาณ 60 ซม.

1.2 เครื่องเป่าลม ในบ่อเพาะที่มีขนาดใหญ่ ตั้งแต่ 30-50 ตรม. จำเป็นจะต้องมีเครื่องเป่าลมไว้ในบ่อเพาะ เครื่องเป่าลมจะก่อให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำในบ่อเพาะ จะเป็นการป้องกันการตกตะกอนของน้ำเขียว แล้วยังช่วยเร่งการขยายพันธุ์การเจริญเติบโตของน้ำเขียวให้เร็วขึ้นและลดความเป็นพิษของน้ำที่มีต่อไรแดง
เครื่องเป่าลมสำหรับการเพาะไรแดงนั้นอาจจะประกอบขึ้นมาเอง โดยซื้อมอเตอร์ขนาด ? แรงม้า มาประกอบเข้ากับเครื่องเป่าลมแอร์รถยนต์เก่าซึ่งหาซื้อได้ในราคาถูกตามร้านข้ายเครื่องยนต์เก่า ค่าใช้จ่ายในการประกอบเครื่องเป่าลมนี้จะตอเครื่องละไม่เกินหนึ่งพันบาท
จากเครื่องเปล่าลมใช้ท่อเอสลอนต่อวางไปยังตามจะที่ต้องการจากนั้นก็ต่อท่อแยกมีวาว์วสำหรับเปิดปิด ให้ลมผ่านเข้าไปในท่อเอสลอนที่เจาะรูพรุนวางไว้ในบ่อ

1.3 ผ้ากรอง ในการกรองน้ำลงในบ่อเพาะทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นน้ำบาดาล น้ำคลอง น้ำประปา และน้ำเขียวที่เป็นเชื้อเริ่มต้นควรผ่านผ้ากรองขนาด 69 ไมครอน หรือต่ำกว่าก็ได้ เพื่อเป็นการป้องกันสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ และศัตรูของไรแดง

1.4 น้ำเขียว เป็นสาหร่ายเซลล์เดียวขนาดเล็ก โดยทั่วไปจะมีอยู่มากมายหลายชนิดและมีคุณค่าทางอาหารแตกต่างกัน สาหร่ายเซลล์เดียวที่ใช้ในการเพาะไรแดงคือ chlorella sp มีขนาด 2.5-3.5 ไมครอน มีโปรตีนสูงกว่าสาหร่ายเซลล์เดียวชนิดอื่น คือมีโปรตีน 64.15% การเพาะพันธุ์โดยการใช้ปุ๋ยอนินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ก็ได้ ระยะเวลาในการเพาะเพื่อทำให้น้ำเขียว เขียวเข้มจะใช้เวลาประมาณ 3 วัน เชื้อน้ำเขียวเริ่มต้นสำหรับการเพาะระยะเวลาเริ่มแรกนั้นติดต่อได้ที่สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดปทุมธานี

1.5 ไรแดง หัวเชื้อไรแดงใช้สำหรับแพร่ขยายพันธุ์ต่อไป ควรหาไรแดงที่แข็งแรง สภาพดี มีสีแดงเรื่อๆ และไม่ควรมีไรน้ำชนิดอื่นๆ ปะปนมาด้วย

1.6 วัสดุที่ใช้ในการเพาะไรแดง

อามิ-อามิ เป็นกากของการทำผงชูรสของบริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ ซึ่งประกอบด้วยแร่ธาตุไนโตรเจน 4.2% และฟอสฟอรัส 0.2% การใช้ควรใช้ทั้งน้ำและตะกอนรวมกัน ในกรณี อามิ-อามิ เกิดการตกตะกอนมากขึ้นควรลดระดังปริมาณที่ใช้ลง เพื่อป้องกันการเน่าเสียของน้ำในบ่อไรแดง

รำหรือกากถั่วและปลาป่น เมื่อเกิดการย่อยสลายจะก่อให้เกิดบัคเตรี และเป็นปุ๋ยสำหรับเพาะไรแดง นอกจากนี้ถ้าใช้ร่วมกับปุ๋ย N-P-K และพร้อมกับสารอื่นๆ อีกหลายชนิด สามารถทำให้น้ำเขียวยิ่งขึ้น

ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ได้แก่
- ปุ๋ยนา หรือปุ๋ย N-P-K สูตร 16-20-0
- ปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต สูตร 0-46-0
- ปุ๋ยยูเรีย หรือปุ๋ยน้ำตาล สูตร 46-0-0
ในการใช้ปุ๋ยวิทศาสตร์ทุกครั้งควรทำการละลายน้ำให้หมด เพื่อป้องกันการตกค้างของปุ๋ยในบ่อเพาะไรแดง

ปูนขาว การใช้ปูนขาวในบ่อเพาะไรแดงก็เพื่อเป็นการปรับระดับความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ และช่วยในการเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซค์ในน้ำ เพื่อการเจริญโตโต และขยายพันธุ์ของน้ำเขียวให้เร็วขึ้น การใช้ปูนขาวควรละลาย้ำก่อนแล้วค่อยใส่ลงในบ่อเพาะไรแดง

ปูนขาวที่มีขายอยู่ในตลาดทั่วไป โดยปกติจะมีอยู่หลายประเภท เช่น
1. ปูนเผา หรือ calcium oxide (CaO)
2. ปูนเปียก หรือ Calcium hydroxide Cal (OH)2
3. หินปูน หรือ CaCO34. ปูนมาร์ล
ปูนต่างๆ เหล่านี้ จะมีประสิทธิภาพเรียงลำดังมากมายมาหาน้อยโดยปูนเผาจะมีประสิทธิภาพสูงสุด

2. การเพาะไรแดง
การเพาะไรแดงนั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 วิธี คือแบบไม่ต่อเนื่อง แบบต่อเนื่อง และแบบเพิ่มระดับน้ำ
2.1 การเพาะแบบไม่ต่อเนื่อง คือการเพาะไรแดงแบบการเก็บเกี่ยวเพียงครั้งเดียว การเพาะแบบนี้จำเป็นที่จะต้องมีบ่ออย่างน้อย 4 บ่อ เพื่อใช้ในการหมุนเวียนให้ได้ผลผลิตทุกวัน การเพาะแบบไม่ต่อเนื่องจะให้ประมาณไรแดงที่แน่นอน และจำนวนมาก ไม่ต้องคำนึงในด้านศัตรูมากนักเพราะว่าเป็นการเพาะในช่วงระยะเวลาสั้นๆ

2.2 การเพาะแบบต่อเนื่อง คือการเพาะไรแดงแบบเก็บเกี่ยวผลผลิตไรแดงหลายวันภายในบ่อเดียวกัน การเพาะแบบนี้ต้องมีบ่อย่างน้อย 4 บ่อ การเพาะแบบต่อเนื่องจะต้องคำนึงถึงศัตรูของไรแดงและสภาวะแวดล้อมในบ่อเพาะไรแดง เนื่องจากการเพิ่มพวกอินทรีย์สารต่างๆ หรือการเติมน้ำเขียวลงในบ่อควรมีการถ่ายน้ำ และเพิ่มน้ำสะอาดลงในบ่อ เพื่อเป็นการลดความเป็นพิษของแอมโมเนีย และสารพิษอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในบ่อ

2.3 การเพาะไรแดงแบบเพิ่มระดับน้ำ คือการเพาะไรแดงโดยแยกการใส่ปุ๋ยออกเป็น 2 ช่วง แต่ละช่วงจะห่างกัน 3 วัน โดยช่วงหลังจะใส่ปุ๋ยครึ่งหนึ่งของช่วงแรก การเพาะไรแดงแบบเพิ่มระดับน้ำนี้จะต้องคำนึ่งถึง อ๊อกซิเจนในน้ำ เพราะระดับน้ำสูง ดังนั้นควรจะมีเครื่องป่าอากาศเพื่อเพิ่มอ๊อกซิเจนในบ่อให้เพียงพอต่อความต้องการของไรแดง การเพาะแบบนี้จะใช้เวลาในการเพาะหลายวัน แต่จะให้ผลผลิตต่อบ่อสูง

ขั้นตอนในการเพาะไรแดง
1. การเพาะไรแดงแบบไม่ต่อเนื่อง
1.1 ใช้บ่อซีเมนต์ขนาด 50 ตรม. ซึ่งทำความสะอาดและตากบ่อทิ้งไว้แล้ว 1 วัน
1.2 เปิดน้ำและกรองลงบ่อให้ได้ระดับความสูง 20 ซม. ปริมาณน้ำ 10 ลูกบาศก็เมตร พร้อมทั้งละลายปุ๋ยลงในบ่อโดยใช้สูตรใดสูตรหนึ่งดังนี้
สูตรที่ 1 อามิ-อามิ 5 เครื่อง ปุ๋ยนา N-P-K (16-20-0) 2 กก. รำ 5 กก. ปูนขาว 3 กก. ผลผลิตของไรแดงที่ได้ต่อบ่อ 11-13 กก.

สูตรที่ 2 อามิ-อามิ 20 ลิตร ปุ๋ยนา N-P-K (16-20-0) 1.5 กก. ยูเรีย 1.5 กก. (ซุปเปอร์ฟอสเฟต สูตร 0-46-0) 130 กรัม ปูนขาว 3 กก. ผลผลิตไรแดงที่ได้ต่อบ่อ 12.-13 กก.


สูตรที่ 3 ยูเรีย (46-0-0) กก. ปุ๋ยนา N-P-K (16-20-0) 1.5 กก. รำ 5 กก. ปูนขาว 3 กก. ผลผลิตของไรแดงที่ได้ต่อบ่อ 10-12 กก.


สูตรต่างๆ ที่กล่าวมานี้ สถานีฯ ได้เริ่มการเพาะเลี้ยงไรแดงตั้งแต่ปี 2527-2531 โดยไม่ใช้เครื่องพ่นอากาศหรือกังหันน้ำแต่อย่างไร ผลผลิตที่ได้ก็ไม่แตกต่างกันมากนัก


1.3 ทำการเติมน้ำเขียวลงในบ่อประมาณ 1.2 ตัน (1,000 - 2,000 ลิตร) ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน ในระหว่างนี้ควรเดินคนบ่อยๆ เพื่อป้องการการตกตะกอน


1.4 หลังจากน้ำเขียวเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ทำการลงเชื้อไรแดงประมาณ 1.5-2 กก. ใช้เวลาการเพาะไรแดงประมาณ 7 วัน


2. การเพาะไรแดงแบบต่อเนื่อง
2.1 เมื่อดำเนินขึ้นตอนตามวิธีการเพาะในแบบที่ 1 ถึงข้อ 1.4 ในการเก็บเกี่ยวจะทำการเก็บไรแดงมาใช้เพียง 1/2 ของไรแดงที่เกิดขึ้นในบ่อประมาณ 5-6 กก.
2.2 ลดระดับน้ำลงให้เหลือประมาณ 10 ซม. แล้วทำการเติมน้ำสะอาดและน้ำเขียวอย่างละ 5 ซม. ทำเช่นนี้ทุกวันจนกว่าสภาวะแวดล้อมในบ่อไรแดงไม่เหมาะสมหรือผลผลิตไรแดงลดลง จึงทำการล้างล่อแล้วเริ่มทำการเพาะใหม่
2.3 ผลผลิตไรแดงแบบการเพาะต่อเนื่งอจะสามารถเก็บเกี่ยวไรแดงได้ประมาณ 25 กก. ภายในระยะเวลา 12 วัน


3. การเพาะไรแดงแบบเพิ่มระดับน้ำ
ปุ๋ยที่ใช้ในการเพาะไรแดงในบ่อซีเมนต์ขนาด 10 x 5 เมตร ความลึกของบ่อ 60 ซม. ระดับน้ำเพิ่มเป็นระยะดังนี้

ชนิดของปุ๋ย
ระยะที่ 1
ระยะที่ 2
อามิ-อามิ
20 ลิตร
10 ลิตร
ปุ๋ยนา 16-20-0
1.5 กก.
0.75 กก.
ยูเรีย 46-0-0
3 กก.
1.5 กก.
ซุปเปอร์ฟอสเฟต 0-46-0
260 กรัม
130 กรัม
ปูนขาว
3 กก.
1.5 กก.
กากถั่วเหลือง-รำ
1 กก.
0.5 กก.



1. เตรียมบ่อซีเมนต์ขนาด 10 x 5 เมตร ความลึก 60 ซม. โดยทำความสะอาดพื้นบ่อ ตากบ่อพร้อมทั้งติดตั้งท่ออากาศ
2. ทำการเติมน้ำและปุ๋ยพร้อมทั้งใส่น้ำเขียวประมาณ 1-2 ตัน ตามตาราง ใส่ปุ๋ยและน้ำในแต่ละชุดจะแบ่งออก 2 ระยะ โดยแต่ละระยะจะต่างกัน 3 วัน
3. ทำการเติมน้ำเชื้อไรแดงในบ่อที่เตรียมไว้บ่อละ 3-5 กก. หลังจากเติมปุ๋ยในระยะที่ 2 ได้ 2 วัน
4. หลังจากเติมน้ำเชื้อไรแดง 2-3 วัน สังเกตุว่าน้ำจะเป็นสีแดงหมดทั้งบ่อ และพบคลอเรลล่าเหลือน้อยก็ทำการเก็บเกี่ยวได้
5. ผลผลิตที่ได้จากการทดลองตั้งแต่เริ่มจนเก็บเกี่ยวได้ ใช้เวลาประมาณ 9-10 วัน ในบ่อที่ใส่ปุ๋ยตามระยะเวลาดังกล่าวจะได้ผลผลิตสูงมากประมาณ 28-34 กก.


การเปรียบเทียบในด้านต้นทุนการผลิตไรแดง
ต้นทุนค่าปุ๋ย
1. อามิ-อามิ ใช้บ่อละ 30 ลิตรๆ ละ 35 สต. เป็นเงิน 10.50 บาท
2. ปุ๋ยนา N-P-K (16-20-0) ใช้บ่อละ 2.25 กก.ๆ ละ 5 บาท เป็นเงิน 11.25 บาท
3. ปุ๋ยยูเรีย N-P-K (46-0-0) ใช้บ่อละ 4.5 กก. ๆ ละ 4 บาท เป็นเงิน 18.00 บาท
4. ปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต N-P-K (0-46-0) ใช่บ่อละ 0.39 กก. ๆ ละ 8 บาท เป็นเงิน 3.12 บาท
5. ปูนขาว ใช้บ่อละ 4.5 กก.ๆ ละ 1 บาท เป็นเงิน 4.50 บาทรวมเป็นเงิน 47.37 บาท (ราคาตามสภาวะของตลาด)

ต้นทุนค่าไฟฟ้า
1. เครื่องปั่นน้ำใช้มอเตอร์ 24Kw. ใช้วันละ 30 นาที คิดเป็นเงิน 2 บาท ระยะเวลาการใช้ 10 วัน คิดเป็นเงิน 20 บาท
2. เครื่องสูบน้ำขนาด 2 นิ้วใช้ 1 ชั่วโมง คิดเป็นเงิน 2 บาท

ต้นทุนค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์
1. ค่าเสื่อมราคาบ่อซีเมนต์ 50 ตรม. คิด 10% ต่อปี ราคาก่อสร้างบ่อละ 30,000 บาท ระยะเวลาที่ใช้ 10 วัน คิดเป็นเงิน 82.19 บาท
2. ค่าเสื่อมราคาของเครื่องปั่นน้ำคิด 10% ต่อปี ราคาเครื่องละ 21,000 บาท ระยะเวลาที่ใช้ 10 วัน คิดเป็นเงิน 57.53 บาท
3. ค่าเสื่อมราคาเครื่องสูบน้ำขนาด 2 นิ้ว คิด 10% ราคาเครื่องละ 7,000 บาท ระยะเวลาที่ใช้ 1 วัน คิดเป็นเงิน 1.92 บาท
4. ค่าเสื่อมราคาของปั๊มลม คิด 10% ต่อปี ราคาเครื่องละ 28,000 บาท ระยะเวลาใช้ 10 วัน คิดเป็นเงิน 76.71 บาท

ต้นทุนค่าแรงงาน
ค่าจ้างคนงานประจำ 2,100 บาท ต่อคน ต่อเดือน ระยะเวลาทำงานเฉลี่ย 6 วัน คิดเป็นเงิน 350 บาท

ต้นทุนในการผลิตไรแดงในบ่อที่ใช้เครื่องปั่นน้ำ
ต้นทุนการผลิตไรแดงต่อกิโล = ค่าปุ๋ย + ค่าไฟฟ้า + ค่าเสื่อมราคา + ค่าแรงงาน/ผลผลิตเฉลี่ย
= 637.72/30 = 21.25 บาท

ปัญหาวิธีการแก้ไขและเทคนิคที่ควรทราบ
1. การเตรียมน้ำลงในบ่อเพาะไรแดง ควรกรองด้วยผ้ากรองทุกครั้ง เพื่อป้องกันสิ่งมีชีวิตเล็กๆ หรือศัตรูไรแดงในแหล่งน้ำอาจจะเข้ามาพร้อมกันน้ำที่ใช้
2. น้ำเขียวที่จะนำลงบ่อเพาะไรแดง ควรกรองด้วยถุงกรองแพลงค์ตอน เพื่อป้องกัน สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ติดมากับน้ำเขียว
3. แพลงค์ตอนสัตว์น้ำและพืชที่อยู่ในน้ำจืด ชอบน้ำที่มีความเป็นด่างเล็กน้อย คือประมาณ 7.5 - 8.5 ฉะนั้น น้ำที่นำมาเลี้ยงเป็นกรดหรือเป็นกลางก็ควรปรับให้เป็นด่าง
4. การเพาะไรแดงโดยใช้ปุ๋ยมูลสัตว์หรืออาหารเม็ดเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้ผลผลิตไรแดงสูง อีกทั้งการเติมสารอาหารพวกอินทรีย์สารจะทำให้เกิดการเน่า น้ำเสียได้ง่าย และผลผลิตไรแดงจะไม่แน่นอน การเพาะน้ำเขียวนอกจากจะเป็นอาหารไรแดงแล้วยังช่วยรักษาระบบนิเวศน์วิทยาในการอยู่ร่วมกันของไรแดง ทำให้เกิดผลผลิตไรแดงสูงได้
5. การเพาะไรแดง ปัจจัยที่คำนึงถึงปัจจัยแรกคือ อาหาร (น้ำเขียว) ซึ่งนับว่าเป็นอาหารที่เหมาะสมต่อการใช้เลี้ยงไรแดง คงสภาพอยู่ได้นานไม่เน่าเสีย เจริญเติบโตได้รวดเร็วด้วยปุ๋ยชนิดต่างๆ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยอนินทรีย์จะทำให้น้ำเขียวมีการเจริญเติบโตได้ดีและคงสภาพอยู่ได้นาน
6. การเพิ่มระดับน้ำ และปุ๋ยก็จะเป็นปัจจัยหนึ่งในการเพิ่มผลผลิตของไรแดง เนื่องจากการเพิ่มน้ำและปุ๋ยก็จะเป็นการเพิ่มปริมาณน้ำเขียวให้มากขึ้นก็จะทำให้ไรแดงมีผลผลิตสูง ฉะนั้นในการเพาะเลี้ยงไรแดงถ้ามีการจัดการเรื่องระบบและวีการใช้น้ำรวมทั้งเพิ่มปริมาณปุ๋ย และชนิดของปุ๋ยให้เหมาะสมขึ้นก็สามารถทำให้การเพาะไรแดงได้ผลผลิตที่สูงขึ้นกว่าในปัจจุบัน
7. การใช้ออกซิเจน โดยทั่วไปสิ่งที่มีชีวิตจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนในขบวนการสร้างพลังงาน ฉะนั้นในการเพิ่มออกซิเจนโดยใช้ปั๊มลมลงในบ่อเพาะเลี้ยงไรแดง นอกจากจะช่วยให้ไรแดงมีการขยายพันธุ์ได้รวดเร็วขึ้นแล้ว ยังทำให้แบคทีเรียที่อยู่ในบ่อทำการย่อยอินทรีย์สารได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยให้น้ำเขียวมีการเจริญเติบโตได้ดีขึ้นอีกทั้งยังช่วยป้องกันการตกตะกอนของน้ำเขียวได้ ดังนั้นในการเพิ่มออกซิเจนลงในบ่อเพาะเลี้ยงไรแดงก็จะมีส่วนให้ไรแดงมีผลผลิตสูงขึ้น
8. การหมุนเวียนน้ำ การหมุนเวียนน้ำก็เป็นปัจจัยอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการเพาะน้ำเขียวและไรแดงโดยตรงจะช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจน และยังช่วยไม่ให้น้ำเขียวตกตะกอนเกิดการสูญเสียเปล่า นอกจากนี้ยังช่วยให้ปุ๋ยที่ตกตะกอนทับถมกันอยู่กระจายฟุ้งขึ้นมา เพื่อเป็นประโยชน์โดยตรงต่อน้ำเขียวซึ่งมีผลทำให้ผลผลิตของไรแดงสูงขึ้น
9. แสงแดด แสงแดดนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด และควบคุมได้ยากมากที่สุด แสงแดดจะมีผลต่อปริมาณความหนาแน่นของน้ำเขียว และระยะเวลาที่ใช้ในการเพาะไรแดงโดยตรง ในการเพาะไรแดงถ้าทำการเพาะในช่วงที่มีแดดจัดจะทำให้ผลผลิตไรแดงสูงขึ้น และใช้ระยะเวลาที่สั้นกว่าการเพาะในช่วงที่มีแดดไม่จัดหรือไม่มีแสงแดด
10. อุณหภูมิ อุณหภูมิเป็นปัจจัยธรรมชาติอีกปัจจัยหนึ่งซึ่งสามารถควบคุมได้ยาก จะมีผลต่อผลผลิตของไรแดงโดยเฉพาะเมื่ออุณหภูมิต่ำก็จะทำให้ผลผลิตของไรแดงต่ำ และเมื่ออุณหภูมิสูงถึงจุดที่เหมาะสมก็จะทำให้ผลผลิตไรแดงสูงขึ้น ระยะเวลาในการเพาะไรแดงก็จะเร็วขึ้นด้วย ซึ่งจะทำให้การเพาะไรแดงใช้เวลาน้อยลงแต่ได้ผลผลิตสูงขึ้น
11. ศัตรูของไรแดงก็นับว่าเป็นปัจจัยอันหนึ่งที่จะเป็นตัวกำหนดปริมาณของไรแดงในบ่อ โรติเฟอร์นับว่าเป็นศัตรูชนิดหนึ่งของไรแดง เพราะว่าโรติเฟอร์เป็นตัวแยกกินอาหารของไรแดง และจะเข้าเกาะตามตัวของไรแดงจึงควรระมัดระวังทุกขั้นตอนทุกตอนในการป้องกันโรติเฟอร์

การลำเลียงขนส่งไรแดง
การขนส่งไรแดงที่มีชีวิตอยู่นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง สถานีฯ ได้ทำการทดลองและพบว่า การขนส่งไรแดงนั้นควรลดกิจกรรมการดำเนินชีวิตของไรแดง โดยบรรจุไรแดงในอุณหภูมิต่ำกว่าเพื่อให้เกิดการใช้พลังงานต่างๆ ในตัวให้น้อยที่สุด ในระหว่างการลำเลียงนั้นควรให้อุณหภูมิภายในถุงเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ ไม่รวดเร็วและช่วงกว้างของการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิไม่มากนักจนเป็นอันตรายต่อไรแดง การขนส่งไรแดงที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันควรทำดังนี้คือ

1. การขนส่งไรแดงโดยวิธีนำไรแดงไปแช่ในน้ำแข็งประมาณ 1-2 วินาทีเพื่อลดกิจกรรมและระบบการเผาผลาญพลังงานในตัวเอง แล้วรีบบรรจุในน้ำสะอาดและมีน้ำแข็งคลุมรอบนอกถุงเป็นดีที่สุด
2. การขนส่งไรแดงในระยะทางใกล้ๆ ซึ่งใช้ระยะเวลา 2-3 ชม. นั้นไมจำเป็นต้องใช้ไรแดงแช่ในน้ำแข็งแต่ควรนำไรแดงมาบรรจุในน้ำสะอาดแล้วอัดออกซิเจน คลุมน้ำแข็งรอบๆ แล้วขนส่งไรแดงในรถที่มีเครื่องปรับอากาศก็ยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งมากยิ่งขึ้น ในกรณีที่ไม่สามารถหาน้ำแข็งได้ก็สามารถขนส่งในรถที่มีเครื่องปรับอากาศได้
3. การลำเลียงไรแดงในลักษณะแช่แข็งก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง เช่นเดียวกันโดยเก็บไรแดงในตู้เย็นจนมีลักษณะแข็ง วิธีนี้สามารถเก็บไว้ได้นานและยังสดอยู่เสมอ แต่ไรแดงที่ได้เป็นไรแดงที่ตายแล้ว สัตว์น้ำวัยอ่อนจะชอบกินไรแดงสดมากกว่าไรแดงที่แช่แข็ง การให้อาหารลูกค้าปลาลูกกุ้งวัยอ่อนจึงควรให้ครั้งละน้อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเน่าเสียได้ง่าย

การผลิตไรแดงในบ่อดิน
บ่อดินที่จะใช้เพาะเลี้ยงไรแดงควรมีขนาดประมาณ 200-800 ตาราเมตร โดยมีวิธีการดำเนินการดังนี้
1. กำจัดสิ่งรกภายในบริเวณบ่อและศัตรูต่างๆ ของไรแดงประมาณ 2 วัน
2. เติมน้ำกรองลงบ่อให้มีระดับน้ำสูงจากพื้นบ่อประมาณ 25-40 ซม. พร้อมกับเติมปุ๋ยและอาหารลงไป
3. สูตรอาหารที่ใช้มีดังนี้



บ่อ 200 ตรม.
บ่อ 800 ตรม.
ปูนขาว
15 กก.
60 กก.
อามิ-อามิ
25 ลิตร
100 ลิตร
ปุ๋ย N-P-K สูตร 16-20-0
2.5 กก.
10 กก.
ยูเรีย
1.2 กก.
5 กก.

ถ้าในกรณีไม่มีอามิ-อามิ ให้ใช้มูลไก่แทนประมาณ 80 กก./800 ตรม. แล้วใส่น้ำเขียว (Chlorella) ประมาณ 2 ต้น ถ้าไม่มีน้ำเขียวก็หมักน้ำทิ้งไว้ประมาณ 3 วัน
4. เมื่อน้ำในบ่อมีสีเขียวแล้วให้เติมเชื้อไรแดงอย่างดีประมาณ 2 กก.
5. เริ่มเก็บเกี่ยวไรแดงได้ในวันที่ 4-7 จึงควรเก็บเกี่ยวไรแดงให้ได้มากที่สุด หลังจากนั้นไรแดงจะเริ่มลดน้อยลง จึงควรเติมอาหารลงไป อาหารที่ควรเติมในระยะนี้ควรจะเป็นพวกย่อยสลายเร็ว เช่น น้ำถั่วเหลือง น้ำเขียว รำ เลือดสัตว์ ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ต่างๆ และมูลสัตว์ เป็นต้น โดยเติมอาหารลดลงไปจากเดิมครึ่งหนึ่ง ไรแดงจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นอีกภายใน 2-3 วัน และกลับลดลงไปอีก ก็ให้เติมอาหารลงไปเท่ากับครั้งที่ 2 ในกรณีนี้การเกิดไรแดงจะลดจำนวนลงมาก ถึงจะเติมอาหารลงไปอีกไรแดงก็จะไม่เพิ่มปริมาณมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการใส่อาหารกับผลผลิตที่ได้และเวลาที่เสียไป เห็นว่าไม่คุ้มกับการลงปุ๋ยแล้วจึงควรเริ่มการเพาะเลี้ยงไรแดงใหม่ ซึ่งปกติแล้วเมื่อเพาะไรแดงไปได้ 15 วันก็จะเริ่มต้นใหม่



















Leave a Reply

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ผู้ติดตาม